Close

เราแนะนำให้คุณเริ่มสมัครด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อตั้งค่าต่างๆของพนักงาน สถานที่ และคุณลักษณะของเวลาเข้าออกได้สะดวกและรวดเร็ว

01/11/2019

เบิกเงินเดือนล่วงหน้ากับ มีตังค์ SCB ธนาคารไทยพานิชย์

มีตังค์ของธนาคาร SCB ถือได้ว่าเป็นบริการหนึ่งที่หลายๆคนเฝ้ารอมานานว่าน่าจะมีบริการแบบนี้ออกมาเพื่อช่วยเหลือให้ตนเองมีเงินฉุกเฉินสามารถเบิกเงินเดือนของตัวเองออกมาก่อนได้ แน่นอนว่า การที่จะเบิกออกมาก่อนได้นั้น จะยึดตามวันที่เข้าทำงานจริงกับองค์กรเท่านั้น หรือหมายความอีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าหากว่าไม่ได้เข้าทำงานก็จะไม่เห็นยอดที่สามารถเบิกเงินแสดงให้เห็นผ่านทางแอพของธนาคารได้เช่นเดียวกัน

ธนาคารไทยพาณิชย์มีกำหนดเงื่อนไขเอาไว้ว่า ถ้าหากว่าจะให้พนักงานสามารถเข้าโครงการ มีตังค์ นี้ได้จำเป็นต้องในระบบเงินเดือน Payroll ของธนาคารไทยพานิชย์ด้วยเช่นเดียวกัน โดยพนักงานเองจะสามารถเบิกเงินล่วงหน้าได้มากสุดเท่ากับ 50% ของวันที่มาทำงาน และยอดเบิกสูงสุดไม่เกินกว่า 20,000 บาทต่อคนต่อเดือน

ธนาคารไทยพาณิชย์
SCB กับโครงการ มีตังค์ ทำให้พนักงานสามารถเบิกเงินเดือนล่วงหน้าได้ ภาพประกอบจาก wikipedia.org

วิธีการคิดก็เช่น
ถ้าหากว่า พนักงานมีฐานเงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือน แล้วมาทำงานได้ 10 วันแล้ว ซึ่งปกติแล้ว พนักงานคนนี้จะได้เงินเฉลี่ยต่อวันทำงานและวันหยุดต่างๆตามที่กฏหมายกำหนด เท่ากับวันละ 1,000 บาท (เอา 30,000 หารด้วย 30 วัน) ดังนั้นแล้ว เขาได้มาทำงานให้กับองค์กร 10 วันตามตัวอย่างที่สมมูติ ดังนั้น พนักงานคนนี้จะสามารถเบิกผ่านแอพของธนาคารได้ด้วยยอดสูงสุด 1,000 บาทต่อวัน x 10 วันทำงาน x (50%)= 5,000 บาทในวันนั้นๆที่เปิดแอพดู​วันที่เขาทำงานมาได้แล้วสิบวัน

ข้อสังเกต 1: องค์กรที่ทำงานต่อสัปดาห์มากกว่าจะทำให้ยอดเบิกเงินล่วงหน้าได้มากกว่าด้วย

ถ้าหากว่า คิดแบบนี้แปลว่าคนที่ทำงานมาสิบวันมาแล้ว ตามตัวอย่างที่ได้เกริ่นไปเมื่อครู่นี้ นั่นก็แปลว่า พนักงาานคนดังกล่าว เขาได้ทำงานมาแล้วประมาณครึ่งเดือนสำหรับองค์กรที่ทำงานเพียงห้าวันต่อสัปดาห์ ลองคิดอีกแบบว่า ถ้าหากว่าคนเดียวกันนี้ทำงานกับองค์กรประเภทที่ให้ทำงานปกติสัปดาห์ละหกวัน จะพบได้ว่า เขาจะตอกเวลาเข้าออกทั้งหมด 12 วัน เมื่อผ่านไปแล้วครึ่งเดียว ทำให้ยอดที่สามารถเบิกได้สูงสุดสำหรับพนักงานเดียวกันนี้ที่ทำงานเพียงครึ่งเดือนเหมือนกันสามารถเบิกได้ยอดสูงสุดเท่ากับ 1,000 x 12 x (50%) = 6,000 บาท แทนที่จะเป็นยอดเพียง 5,000 บาทเหมือนที่ยกตัวอย่างเอาไว้ข้างต้น

ข้อสังเกต 2: พนักงานที่ขาดงานลาเต็มวันเป็นประจำจะทำให้มียอดที่สามารถเบิกเงินล่วงหน้าได้น้อยลงไปตามส่วน

เพราะเนื่องจากกฏเกณฑ์ในการประเมินเงินเพื่อสามารถให้เบิกได้ล่วงหน้านั้นในเวลานี้ ทำให้พบว่า ถ้าหากว่าพนักงานคนใดที่ไม่ได้เขาออกงานในวันทำงาน อาจจะเนื่องจากทำการลางานมาไม่ว่าจะเป็นการลากิจ ป่วย พักร้อนก็สุดแล้วแต่รูปแบบใดๆที่กฏหมายกำหนดเอาไว้ พนักงานดังกล่าว ก็จะมีตัวคูณวันทำงานน้อยลงไปด้วยเพราะ การคิดยอดเบิกล่วงหน้าได้แบบนี้ จะไม่นับว่าวันที่ลางานไปเต็มวันเป็นวันที่มาทำงานแต่อย่างใด ทั้งนี้ การออกแบบวิธีการคิดตรรกะในการให้สิทธิ์เบิกเงินเดือนล่วงหน้าแบบที่ SCB โครงการมีตังค์นี้ใช้อยู่ก็ทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการเข้างานมากขึ้น หากเขาต้องวางแผนในการเบิกเงินล่วงหน้าสำหรับรอบเดือนนั้นๆ ด้วยเหตุจำเป็นบางประการ

ข้อสังเกต 3: สวัสดิการ มีตังค์ เบิกเงินเดือนล่วงหน้า ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการที่องค์กรต้องออกแรงเพื่อทำให้เกิดขึ้น เพื่อยังประโยชน์ให้กับพนักงานของบริษัทของตนเอง ซึ่งทุกฝ่ายได้ประโยชน์ทั้งหมด

พนักงานแน่นอนว่าได้ความยึดหยุ่นในการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าของตัวเอง จากที่แต่ก่อนบริษัทไม่มีนโยบายใดๆที่จะให้เบิก ตัวองค์กรเองก็จะได้ประโยชน์คือ ไม่ต้องจัดการเงินประเภทเงินเบิกล่วงหน้าเหล่านี้ด้วยตนเอง เพราะ เนื่องจากธนาคารเป็นผู้ดำเนินการ “ออกเงินให้กับพนักงาน” ตามยอดที่แสดงเอาไว้ในแอพของธนาคารเอง โดยที่ทางองค์กรไม่ได้แตะต้องเงินหรือโอนถ่ายเงินแต่อย่างใด หากมองภาพเป็นแบบนี้ คุณในมุมมองผู้บริหารองค์กรจะเห็นได้ว่า คุณกำลัง outsource กิจกรรมการจัดการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าออกไปให้กับธนาคารทำ และเงินก็ถูก outsource ออกไปด้วยอีกต่างหาก ! สวัสดิการแบบนี้ส่วนมากแล้วจะเกิดกับองค์กรที่มีระบบหลังบ้านทางด้านการเงินบัญชีที่แข็งแกร่งมากๆถึงจะทำได้ไม่เป็นโหลดขององค์กรมากนัก แต่ถ้าหากว่าคุณเป็นองค์กรที่ไม่กล้าที่จะรับมือกับการ จัดหาสวัสดิการนี้ให้กับพนักงานแล้วล่ะก็ การ outsource กระบวนการและแหล่งเงินออกจากองค์กรออกไปภายนอกให้ธนาคารเป็นผู้ดำเนินการแทนไปทั้งหมด จะทำให้คุณเองมีสวัสดิการที่ดีเทียบเท่ากับองค์กรขนาดใหญ่ได้สำหรับเรื่อง การเบิกเงินเดือนล่วงหน้าของพนักงานนี้

ข้อสังเกต 4: องค์กรยังคงได้สิทธิ์ในการกำหนดว่าพนักงานคนใดได้สวัสดิการนี้บ้าง

การที่องค์กรมีกลไกเพื่อให้พนักงานเบิกเงินเดือนล่วงหน้าได้นั้นถือได้ว่า องค์กรจะได้ข้อมูลเชิงลึกพิเศษกว่าองค์กรที่ไม่มีสวัสดิการประเภทนี้ เพราะ สวัสดิการที่อนุญาตให้พนักงานเบิกเงินเดือนตัวเองล่วงหน้าได้นั้น จะทำให้องค์กรหรือทีมบริหารทราบได้ว่า พนักงานคนใดต้องการเงินเดือนตัวเองล่วงหน้า ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง เจ้าหน้าที่ HR หรือผู้บริหารทางตรงจะยังสามารถเข้าไปสอบถามสารทุกข์สุกดิบอื่นๆเกี่ยวกับเหตุผลหรือความจำเป็นของการเบิกเงินล่วงหน้านั้นได้อยู่ แม้ว่าการอนุมัตินั้นเกิดขึ้นโดยธนาคารแล้วก็ตามที องค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลว่าใครเบิกเงินเดือนตัวเองล่วงหน้าได้อยู่เหมือนกับเป็นการที่พนักงานมาเบิกเงินเดือนล่วงหน้าโดยตรงกับบริษัทเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ องค์กรบริษัทยังมีอำนาจในการกำหนดได้ว่าพนักงานคนใดสามารถได้รับสวัสดิการเบิกเงินเดือนล่วงหน้านี้ได้หรือคนใดไม่มีสิทธิ์ได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ข้อสังเกต 5 : พนักงานที่พึ่งพารายได้ส่วนใหญ่กับ OT และค่านายหน้าอื่นๆจะได้สัดส่วนการเบิกเงินเดือนตัวเองล่วงหน้าน้อยกว่าคนอื่นๆที่ทำงานโดยได้เงินเดือนเป็นหลัก

กล่าวคือ ถ้าหากว่า คุณเป็นพนักงานบัญชีที่มีเงินเดือนมาในรูปแบบเดียว คือ ทั้งหมดได้จากฐานเงินเดือน ก็จะทำให้ตัวเลขทีสามารถเบิกเงินเดือนล่วงหน้าได้นั้นจะมากกว่า พนักงานที่เป็นพนักงานขายที่อาจจะพึ่งพารายได้ในสัดส่วนที่สูงบนค่าเดินทางค่านายหน้า ค่าเข้าพบลูกค้าและค่าอื่นๆ ทำให้พนักงานขายประเภทนี้แท้ที่จริงแล้ว ได้รับการกำหนดฐานเงินเดือนที่น้อยกว่าพนักงานแผนกอื่นๆอยู่แต่ต้องโดยการออกแบบเงินจูงใจที่ไม่ได้เป็นฐานเงินเดือน พนักงานประเภทนี้จะมียอดเบิกเงินเดือนตัวเองล่วงหน้าได้น้อยกว่าพนักงานปกติอื่นๆ

ข้อสังเกต 6: พนักงานที่น่าจะมีโอกาสเบิกเงินเดือนตัวล่วงหน้ามากกว่ากลุ่มอื่นๆคือ พนักงานที่ฐานเงินเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท

เพราะในทางกลับกันแล้วพนักงานหากเป็นกลุ่มที่มีเงินเดือนฐานสูงอยู่แล้ว ความจำเป็นในการเบิกเงินล่วงหน้าก็น้อยลงไปด้วยผกผันตามฐานเงินเดือนที่มากขึ้น แปลว่าหากองค์กรใดจะใช้ระบบสวัสดิการเบิกเงินเดือนล่วงหน้านี้ จะมุ่งหวังว่าสวัสดิการนี้จะเข้าช่วยเหลือคนกลุ่มที่มีฐานเงินเดือนไม่มากนักเป็นหลัก ทั้งนี้ เนื่องจากคนที่มีฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาทนี้จะไม่สามารถเข้าสู่ระบบเครดิตการ์ดได้ และ อาจจะเข้าถึงรูปแบบเงินกู้ประเภทอื่นๆในระบบได้ยากกว่าคนที่ฐานเงินเดือนที่มากกว่านี้

เงื่อนไขขององค์กรที่จะสามารถสร้างรูปแบบสวัสดิการนี้ได้กับ โครงการมีตังค์ของ SCB ที่มีการประกาศเป็นสาธารณะก็คือ

  1. องค์กรจะต้องใช้ระบบจ่ายเงินเดือน PAYROLL จ่ายเงินผ่านธนาคาร SCB เท่านั้นที่เรียกว่า SCB Business Net ทั้งบัญชีต้นทาง(ผู้จ่ายคือบริษัทองค์กร) และบัญชีธนาคารปลายทาง (ผู้รับเงินคือพนักงานก็ต้องรับด้วย SCB เช่นเดียวกัน) ทั้งนี้องค์กรสามารถเปลี่ยนระบบมาใช้บริการของ SCB ได้ไม่ยากให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ของทาง SCB เพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้ได้สำหรับธุรกิจที่ดำเนินการอยู่
  2. นอกจากนี้ธนาคารอาจจะมีเงื่อนไขอื่นๆเพิ่มเติมกับทางองค์กรอีกด้วย เพื่อให้แน่ใจได้ว่าองค์กรมีการดำเนินการอยู่จริงและจะยังคงดำเนินการอยู่ต่อไป
  3. ทางองค์กรต้องสามารถที่จะนำส่งรายการลงเวลาของพนักงาน ไม่ว่าด้วยระบบใดๆที่ใช้อยู่หรือเลือกใช้ระบบการลงเวลาพนักงานที่รองรับการเชื่อมต่อบริการของตนเองกับธนาคารได้ เช่น บริการของ TimeMint ที่เป็นระบบ real time Timestamp เป็นต้น หรือ หากองค์กรสามารถดำเนินการโดยทีมของแผนก IT ในองค์กรเพื่อส่งไฟล์อัตโนมัติในรูปแบบที่กำหนดก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ณ ตอนนี้ธนาคารนั้นยังต้องการข้อมูลแค่เพียงระดับรายวันเท่านั้น (ส่งวันละครั้งก็เพียงพอสำหรับการอัพเดทและประมวลผลยอดเงินเบิกล่วงหน้าของพนักงานแต่ละคนได้แล้ว)

เงื่อนไขของพนักงานที่จะได้เข้าใช้การเบิกเงินล่วงหน้า มีตังค์ SCB

  1. พนักงานต้องอยู่ในองค์กรที่สมัครเพื่อเปิดบริการสวัสดิการเบิกเงินเดือนล่วงหน้า มีตังค์นี้แล้วเท่านั้น
  2. พนักงานได้รับสิทธิ์จากนายจ้างว่าได้สวัสดิการนี้ด้วยยอดการเบิกสูงสุดเท่าใด ที่จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ขององค์กรเป็นผู้กำหนด
  3. พนักงานจะต้องมีบัญชีที่รับเงินจากบริษัทอยู่แล้วเป็นของธนาคารไทยพานิชย์

ค่าธรรมเนียมของโครงการมีตังค์ SCB นี้คิดอย่างไร

ค่าธรรมเนียมที่มีประกาศออกสื่อนั้นคือ 20 บาทต่อการเบิกเงินล่วงหน้าทุกๆ 1,000 บาท เช่น หากมีการเบิกเงิน 1,500 บาทก็แปลว่า เสียเงินค่าธรรมเนียม 20×2= 40 บาทเป็นต้น

ข้อสังเกต : แปลว่าถ้าหากว่าพนักงานจะเบิกเขาก็ควรจะเบิกให้ลงหน่วยพันพอดีเพื่อประหยัดค่าธรรมเนียมเอาไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ข้อสังเกต : การกดเบิกเงินเดือนตัวเองล่วงหน้าแบบนี้ จะกระทำในแอพของทางธนาคารที่ชื่อว่า SCB EASY APP โดยพนักงานจะเห็นยอดเงินที่เบิกได้ในมือถือของพนักงานเองเท่าน้ัน

ยอดเงินที่เบิกจะถูกเครียร์กันเมื่อใด ?

แน่นอนว่า กระบวนการนี้ก็คือ การเบิกเงินเดือนตัวเองล่วงหน้า แปลว่า ถ้าหากว่าเรากดเงิน 1,500 บาทด้วยการกดผ่าน “มีตังค์” ซึ่งมีค่าธรรมเนียม 40 บาทแล้ว เมื่อองค์กรดำเนินการจ่ายเงินเดือนผ่านระบบของธนาคาร ธนาคารจะ direct debit ยอดเงินที่เป็นยอดรายคนเอาไว้พรัอมค่าธรรมเนียม ก่อนเงินจะถึงบัญชีธนาคารของพนักงาน แต่ความเป็นจริงๆแล้ว ในหน้าเล่มสมุดของพนักงานจะเห็นยอดเงินเดือนเต็มเหมือนปกติแต่มียอดหักพ่วงในรายการต่อไปต่อเนื่องทันทีเท่ากับ 1,540 บาทเป็นต้นตามกรณีตัวอย่างนี้

ทั้งนี้นอกจากธนาคารเป็นผู้ให้บริการรับจัดการการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าให้กับพนักงานแล้ว ยังมีองค์กรเอกชนอื่นที่ดำเนินการรูปแบบเดียวกับธนาคารนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งแต่ละที่จะมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนไม่เท่ากัน แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความเสี่ยงและวิธีการของแต่ละที่ อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นที่ใด หากจะให้ผู้ให้บริการภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูล การลงเวลา ของพนักงานแล้ว จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อระบบเข้ากับผู้ให้บริการรายนั้นๆได้ เพราะไม่อย่างงั้นอาจจะต้องมีการอัพเดทส่งข้อมูลด้วยคน ซึ่งการทำกิจกรรมเหล่านี้เป็นรายวัน ถือได้ว่าเป็นเนื้องานที่เพิ่มขึ้นให้กับคนในองค์กรได้ ดังนั้นแล้ว หากเลือกได้ แนะนำใ้ห้ใช้บริการระบบลงเวลาที่มีประสบการณ์และมีแบบแผนที่สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการจัดการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าเหล่านี้ได้จะทำให้องค์กรสะดวกมากที่สุด เช่น TimeMint เป็นผู้ให้บริการายหนึ่งที่มีศักยภาพในการทำเรื่องดังกล่าว เพราะ เป็นระบบ Timestamp ที่สามารถส่งต่อข้อมูลให้กับธนาคารหรือผู้ให้บริการายอื่นๆได้ง่าย

คุณสามารถศึกษาบริการและสมัคร SCB มีตังค์ได้ที่นี่ หรือ สนใจบริการของ TimeMint โดยกดที่นี่เพื่อไปยังรายละเอียดของบริการของเราได้ที่นี่